1. ตรวจสอบประเภทคอนกรีต ต้องเป็นปูนซีเมนต์ประเภท 1 (NormalPortlandCement) เหมาะกับงานก่อสร้างคอนกรีตทั่ว ๆ ไป เช่น คาน เสา พื้น ค.ส.ล. ควรหลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างานเพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว
2. ตรวจสอบก่อนเทคอนกรีต จะดูความเรียบร้อยการติดตั้งไม้แบบ และตัวค้ำยันว่ามีความแข็งแรง มีการวัดระดับอย่างชัดเจนที่ไม้แบบ มีการหนุนลูกปูนที่ใช้รองระหว่างเหล็กกับพื้นไม้แบบ ที่สำคัญก่อนการเทคอนกรีต ควรให้วิศวกรมาตรวจแบบเหล็กด้วยว่าถูกต้องตามแบบคำนวณของวิศวกรผู้ออกแบบโครงสร้างและใช้เหล็กที่มีมาตรฐานรับรอง มีระยะทาบ ระยะงอ การผูกเหล็ก และ ต่อเหล็กอย่างถูกต้องตามหลักวิศวกรรม
3. ตรวจสอบระหว่างเท หากมีการแบ่งเทคอนกรีตสำหรับส่วนคาน ต้องหยุดเทที่ระยะกลางคาน ห้ามหยุดเทที่ระยะน้อยกว่านั้น เพราะบริเวณดังกล่าวจะมีแรงเฉือนในหน้าตัดคาน ทำให้เหล็กที่นำมาเสริมเพื่อรองรับแรงเฉือนในคาน จะต้องรับแรงที่เกิดบริเวณรอยต่อด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้าง ส่วนพื้น สามารถเทคานให้เหลือเหล็กสำหรับผูกเหล็กของพื้นคอนกรีตทีหลังได้ แต่ถ้าจะให้ดี ถ้าเทพร้อมกันได้ก็จะดีกว่าเพราะจะทำให้คอนกรีตเป็นเนื้อเดียวกันกับคานได้
4. ตรวจสอบหลังเท หลังการเทต้องมีการบ่มคอนกรีตหรือการทิ้งไว้ให้คอนกรีตเซ็ตตัวอย่างน้อย 7 วันขึ้นอยู่กับประเภทของคอนกรีตและโครงสร้าง เช่น การบ่นโดยใช้วัสดุอุ้มน้ำคลุมแล้วฉีดน้ำให้ชุ่ม ฉีดน้ำให้เปียกชื้น หรือ ใช้พลาสติกคลุม หลังจากที่บ่มคอนกรีตได้ที่แล้ว เมื่อมีการแกะแบบข้างคานแล้วให้ตรวจดูว่ามีโพรงในคอนกรีตหรือไม่ ไม่มีเหล็กเส้นโผล่ออกมาที่ผิวของโครงสร้าง ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยก็ให้ผู้รับเหมาดำเนินการในส่วนของชั้นอื่น ๆ ต่อไปครับ
ทั้งหมดนี้คือขั้นตอนง่ายๆ สำหรับการตรวจโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างคร่าวๆ โดยใช้การสังเกต อาจจะลองสอบถามถามผู้รับเหมา หรือวิศวกรควบคุมงานได้สำหรับคำตอบต่างๆ เพื่อให้บ้านของเราแข็งแรงและไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง ซึ่งการแก้ไขโครงสร้างหลังบ้านเสร็จแล้วนี่ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยครับ
เราสร้างฝันเพื่อคน อยากมี บ้าน
บริการให้คำปรึกษาด้านการออกแบบและการก่อสร้างบ้าน อาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ อาคารทุกประเภท
โดยทีมงานสถาปนิก และควบคุมการก่อสร้างโดยวิศวกรมืออาชีพ