เมื่อคิดที่จะสร้างบ้านใหม่ หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า “ฐานราก” และ “ตอม่อ” มาบ้าง แต่อาจไม่ทราบว่าคืออะไร อยู่ส่วนไหนของบ้าน มีหน้าที่และความสำคัญอย่างไรในโครงสร้างบ้าน ฐานราก และ ตอม่อนั้น เป็นองค์ประกอบหนึ่งของโครงสร้างบ้านที่อยู่ใต้ดิน ที่มีผลต่อการรับน้ำหนักของตัวอาคารหรือบ้านทั้งหลัง ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกัน มักเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เพราะอยู่ในชั้นดินที่มีความชื้น จึงต้องมีคุณสมบัติในการทนต่อความชื้นได้ดี
ฐานราก เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างบ้านที่รับน้ำหนักจากตอม่อ แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่ดินโดยตรง หรือถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาเข็มจนถึงชั้นดินแข็ง ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือฐานรากแบบวางบนดิน และ ฐานรากที่มีเสาเข็ม
ที่ถ่ายน้ำหนักลงสู่ดินด้านล่างโดยตรง เพื่อให้ดินเป็นตัวรับน้ำหนัก จึงเหมาะกับสิ่งก่อสร้างที่ปลูกบนพื้นที่ที่มีดินชั้นบนแข็ง ยากต่อการขุดเจาะ หรือเหมาะกับสิ่งก่อสร้างที่มีน้ำหนักไม่มาก โดยวางบนดินทรายที่บดอัดแน่น เช่น รั้ว หลังคาโรงรถ (วัสดุหลังคาเบา) ซึ่งอาจมีการทรุดตัวได้ตามสภาพดินและน้ำหนักของสิ่งปลูกสร้าง ฐานรากวางบนดินสามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ ฐานรากแผ่เดี่ยว (Isolate Spread Footing) ฐานรากแผ่ร่วม (Combines Footings) และฐานรากแผ่ปูพรม (Mat or Raft Foundation)
ฐานรากแผ่เดี่ยว (Isolate Spread Footing) เป็นฐานรากที่รับน้ำหนักของเสาหรือตอม่อเพียงต้นเดียว แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่ดิน ระยะห่างของเสาแต่ละต้นจะห่างกันไม่มากนัก สามารถออกแบบได้หลายรูปร่าง แต่ที่นิยมคือสี่เหลี่ยมจัตุรัสและผืนผ้า
ฐานรากแผ่เดี่ยวที่ดี ตำแหน่งของตอม่อจะอยู่ศูนย์กลางของฐานราก แต่ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องสร้างชิดแนวเขตที่ดิน ซึ่งฐานรากไม่สามารถล้ำเข้าไปในเขตที่ดินเพื่อนบ้านข้างเคียงได้ วิศวกรจะออกแบบให้ตำแหน่งตอม่อวางอยู่ด้านใดด้านนึงของฐานราก เรียกว่า “ฐานรากตีนเป็ด หรือฐานรากชิดเขต (Strap Footing)” โดยต้องมีการออกแบบโครงสร้างคานยึดโยงกับฐานรากตัวอื่น เพื่อให้เกิดความเสถียร
ฐานรากแผ่ร่วม (Combined Footings) คือฐานรากที่มีตอม่อมากกว่า 2 ต้นขึ้นไปอยู่รวมในฐานรากเดียวกัน มักใช้ในกรณีที่ไม่สามารถทำฐานรากแผ่เดี่ยวแยกกันได้ เช่น บ้านที่มีช่วงเสาห่างกัน ประมาณ 1.5 – 2 เมตร
ฐานรากแผ่ปูพรม (Mat or Raft Foundation) มีลักษณะเป็นฐานแผ่ร่วมขนาดใหญ่เป็นผืนเดียวกันทั้งหมด เสาทุกต้นจะวางอยู่บนฐานรากนี้ มักใช้ในกรณีที่ดินมีความสามารถในการรับแรงน้อย ซึ่งส่งผลให้ต้องมีเสาค่อนข้างถี่ การทำฐานรากร่วมกันจึงทำได้ง่ายกว่า และเพิ่มความแข็งแรงในการรบน้ำหนักได้มากขึ้น
ฐานรากที่มีเสาเข็มรองรับ (Pile Foundation) เหมาะกับสิ่งก่อสร้างที่ปลูกบนพื้นที่ที่มีชั้นดินอ่อน ต้องอาศัยเสาเข็มในการถ่ายเทน้ำหนักไปยังชั้นดินแข็งที่อยู่ลึกลงไปในแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีระยะความลึกของชั้นดินแข็งไม่เท่ากัน เช่น ในพื้นที่กรุงเทพฯ จะมีความลึกของชั้นดินแข็งประมาณ 17-23 ม. ซึ่งหมายถึงความยาวของเสาเข็มที่รองรับในแต่ละพื้นที่นั่นเอง
ตอม่อ คือ ส่วนประกอบของโครงสร้างบ้านที่วางอยู่บนฐานราก ทำหน้าที่รับน้ำหนักบ้านต่อจากคานคอดินแล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่ฐานรากต่อไป
การเท “ลีน” (Lean) คืออะไร
Lean คือ คอนกรีตหยาบ ใช้สำหรับเทบนพื้นดินที่ปรับระดับแล้ว เพื่อเป็นแบบหล่อท้องคอนกรีตฐานราก คานคอดิน พื้น หรือส่วนของโครงสร้างบ้านที่ต้องสัมผัสกับพื้นดิน Lean ช่วยป้องกันไม่ให้ดินและสิ่งเจือปนอื่นๆ ผสมเข้ากับคอนกรีตฐานราก คานคอดิน จึงทำให้โครงสร้างคอนกรีตแข็งแรงเต็มประสิทธิภาพ
ลูกปูนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
ลูกปูน คือ ก้อนปูนซีเมนต์ (ปูนซีเมนต์ผสมกับทรายและน้ำ) ที่ใช้รองเหล็กเสริมไม่ให้ติดกับแบบหล่อ เป็นการสร้างระยะ Concrete Covering เพื่อให้คอนกรีตที่เทสามารถหุ้มเหล็กเสริมได้ทั้งหมด ป้องกันความชื้นและอากาศซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสนิมสัมผัสกับเหล็กเสริม ทำให้เนื้อคอนกรีตสามารถรับน้ำหนักได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ลูกปูนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
ลูกปูน คือ ก้อนปูนซีเมนต์ (ปูนซีเมนต์ผสมกับทรายและน้ำ) ที่ใช้รองเหล็กเสริมไม่ให้ติดกับแบบหล่อ เป็นการสร้างระยะ Concrete Covering เพื่อให้คอนกรีตที่เทสามารถหุ้มเหล็กเสริมได้ทั้งหมด ป้องกันความชื้นและอากาศซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสนิมสัมผัสกับเหล็กเสริม ทำให้เนื้อคอนกรีตสามารถรับน้ำหนักได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพ scgbuildingmaterials.com
ขอขอบคุณภาพ : unsplash.com
เราสร้างฝันเพื่อคน อยากมี บ้าน
บริการให้คำปรึกษาด้านการออกแบบและการก่อสร้างบ้าน อาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ อาคารทุกประเภท
โดยทีมงานสถาปนิก และควบคุมการก่อสร้างโดยวิศวกรมืออาชีพ